วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

18จังหวัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน








ไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง เตือน18จังหวัดระวังน้ำป่าไหลหลาก

ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเชียงราย แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 21 องศา สูงสุด 33 องศา ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร และนครพนม อุณหภูมิต่ำสุด 22 องศา สูงสุด 32 องศา ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 33 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก ฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัด นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 31 องศา

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 33 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 33 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 30 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ไข้เลือดออก





ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกนอกจากจะเป็น ปัญหาสาธารณะสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นและก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมี ไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อดังต่อ ไปนี้

อุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออก

เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออกมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific
ประชากร ประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อย1
สาเหตุของไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
ละ1

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พันธุ์เเมว


พันธุ์เเมว



เมนคูน, Maine Coon, Main Coon

เรื่อง : ส้มซ่าน้อยตัวใหญ่ รูป : ภาณุ เกตุแก้วMaine Coon เป็นแมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ตามธรรมชาติระหว่างแมวบ้านกับแมวป่าอเมริกันลิงซ์ (American Lynz) คำว่า Maine ของเจ้าตัวโตนั้นมาจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ในรัฐ Maine ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า Coon นั้น ได้มาจากคำกล่าวของคนพื้นบ้านในสมัยก่อนที่เล่าว่าบรรพบุรุษแมวบ้านของเจ้าเหมียวแอบไปกิ๊กกับตัวแรคคูน จนออกลูกออกหลานมามีหางเป็นพวงสวยงามเหมือนแรคคูนเช่นนี้แลรูปร่างหน้าตาลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดที่สุดของเจ้า Maine Coon ก็คือรูปร่างใหญ่สมส่วนรู้สึกได้ถึงความแข็งแรงและสง่างาม ซึ่งหากเจ้าเหมียวโตเต็มที่แล้วจะมีน้ำหนักมากกว่า 12 กิโลกรัม ส่วนความยาวจากหัวจรดหางจะวัดได้มากกว่า 1 เมตร กล่าวได้ว่าขนาดพอๆกับสุนัขเลยทีเดียว เจ้า Maine Coon จึงจัดเป็นแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาแมวสายพันธุ์ทั้งหลาย และผลจากการพัฒนาสายพันธุ์ตามธรรมชาติ ทำให้พวกเค้ามีความแข็งแรง สามารถทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีลักษณะตามมาตรฐานสายพันธุ์- หัว มีขนาดใหญ่สมส่วน โหนกแก้มสูง รูปหน้ายาวปานกลาง ดูเป็นทรงเหลี่ยม- หู ใบหูตั้งชี้เรียวแหลม มีขนที่ปลายหูเหมือนแมวป่า- ตา ดวงตากลมโต สีเขียว ทอง ทองแดง พบตาสีฟ้าบ้างในเหมียวที่มีขนสีขาว- ขน เป็นแมวประเภทขนกึ่งยาว (Semi Long Hair) มีขนปกคลุมหนาแต่ไม่พันกันยุ่ง ขนส่วนหัว คอ และไหล่จะไม่ยาวมาก จะไล่ความยาวจากส่วนหลัง ส่วนท้อง ไปจนถึงสีข้างและหาง ตัวผู้จะมีขนคอที่หนากว่าตัวเมีย- ขา มีขาที่แข็งแรง ความยาวได้สัดส่วนกับลำตัว อุ้งเท้าใหญ่ เท้าหน้าจะมีข้างละ 5 นิ้ว ส่วนเท้าหลังมีข้างละ 4 นิ้ว เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของจ้าตัวใหญ่- การให้อาหารตามปกติอาจยังไม่พอ ควรให้อาหารเสริมแก่เจ้าตัวโตด้วยเนื้อสัตว์โปรตีนสูงไขมันต่ำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อเจ้าเหมียวให้ล่ำบึ้ก- Maine Coon เป็นแมวที่ไม่ค่อยมีปากเสียงมากนัก คุณสามารถหาเห็บ หมัด เช็ดหู สางขน โดยที่เหมียวไม่ปริปากบ่นรำคาญสักแอะ แถมยังชอบอีกด้วย- แมวกึ่งขนยาวแบบ Maine Coon จะไม่มีปัญหาขนพันกันยุ่งแบบแมวขนยาวอย่างเปอร์เซีย การดูแลจึงทำได้ง่ายขึ้น- มิสซิสนอริส จากภาพยนตร์ แฮรี่ พอตเตอร์ นี่ก็ Maine Coon เหมือนกัน





เปอร์เซีย

ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเปอร์เซียหรืออิหร่าน ถูกนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ทั้งใน ยุโรปและอเมริกาเป็นเวลาเกือบร้อยปีมาแล้ว สำหรับประเทศไทยจัดเป็นแมวต่างประเทศ พันธุ์แรกที่ถูกนำมาเผยแพร่ เนื่องจากเป็นแมวที่มีอุปนิสัยอ่อนโยน สุขุมเข้ากับคนง่าย มี ความร่าเริงซุกซน ชอบประจบประแจงและมีไหวพริบลักษณะสายพันธุ์ สี : มีหลายสี เช่น สีชา , สีน้ำตาล , สีเหลือง , สีน้ำเงิน รูปร่างและขนาด : ขนาด ลำตัวใหญ่กว่าแมวไทยเล็กน้อย และขนยาวนุ่มสลวยปกคลุมทั่วร่างกาย ศีรษะกลมและกว้าง ช่วงคอสั้น ใบหูเล็กเท้าอวบใหญ่ หางสั้นเป็นพวงระย้า ที่เด่นมากคือ มีขนที่ลำคอเป็นปุยยาว ฟูและดกมาก






แจแปนนิส บอยเทล

ถือว่าเป็นแมวประจำชนชาติญี่ปุ่นและเป็นสัตว์นำโชคเพราะมีคนทำเป็นตุ๊กตา ภาพเขียน รูปแกะสลักไว้ติดกับร้านค้าบ้านเรือน ในญี่ปุ่นจะเรียกแมวพันธุ์นี้ว่า มิเก (Mi-Ke) แปลว่า สามสีลักษณะสายพันธุ์ สี : นิยมเป็นสามสี คือ พื้นลำตัวขาว มีจุดสีบนตัวแต้มเป็นสีดำ-น้ำตาลหรือดำ-ขาว,ดำ-น้ำตาล รูปร่างและขนาด : เป็นแมวที่มีขนาดกลาง-ใหญ่ ลำตัวผอมบาง ขายาว เท้าขนาดกลางรูปไข่ หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม มีโหนกแก้มสูง จมูกยาว ดวงตาใหญ่รูปไข่สีตาจะสอดคล้องกับสีที่แต้มขนตัว ใบหูใหญ่ปลายหูกลม แมวพันธุ์นี้หางจะสั้นกุด ลักษณะนิสัย : ใจดีเข้ากับคนง่าย ซื่อสัตย์ มีเสน่ห์ไม่ซึมเศร้า

อาหารสี่ภาค





อาหารภาคใต้

เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลา โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง



อาหารอีสาน

หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้า ไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา แจ่วบอง





ภาคกลาง

เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นทีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดปี รวมทั้งมีพืช ผัก ผลไม้ นานาชนิด นอกจากนี้ภาคกลางยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมานับหลายร้อยปี ตั้งแต่สมัยอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน จึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย และติดต่อกับต่างประเทศ มีแขกบ้าน แขกเมืองไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุดเป็นที่ประทับของในหลวงในรัชกาลต่าง ๆ มีเจ้านายหลายพระองค์รวมทั้งแวดลงชาววัง ซึ่งต่างก็มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์อาหารที่เป็นแบบฉบับของคนภาคกลาง

ลักษณะอาหารภาคกลางมีที่มาต่าง ๆ กัน ดังนี้

1. ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
2. เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ ทั้งนี้เพราะบรรดาคุณท่านท้าวเธอที่อยู่ในรั้วในวังมีเวลาว่างมากมาย จึงใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
3. เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิก็มักจะแนมด้วยปลาเค็ม สะเดา น้ำปลาหวานก็ต้องคู่กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือแม้กระทั่งไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสด หรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกมากมายเช่นพวกผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
4. เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมหวานหลากหลายที่ทำจากไข่ , แป้งชนิดต่าง ๆ เช่น แป้งข้าวเหนียว แป้งสาลี แป้งมัน หรือแป้งหลายชนิดรวมกัน เช่น ขนมชั้น ขนมสอดไส้ ขนมเปียกปูน ขนมกง ขนมมุก ขนมลืมกลืน ขนมเต่า เป็นต้น
จากความหลากหลายของอาหารภาคกลางนี้เอง จึงทำให้รสชาติของอาหารภาคนี้ไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน คลุกเคล้าไปตามชนิดต่าง ๆ ของอาหาร นอกจากนี้มักจะใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่นพวกเครื่องเทศต่าง ๆ ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหารมากชนิด








ภาคเหนือ

เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีต เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศ ไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้ แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้พืชตามป่าเขา และพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ โก๊ะข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอดีที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทน การเก็บอาหารที่เหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัวทั่ว ๆ ไปจะมีราวไว้แขวน หอม กระเทียม คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง ( จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง ) ไก่ หมู และเนื้อ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน ( ยำขนุน ) เมื่อตำเสร็จก็ต้องนำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลาที่จับจากแม่น้ำลำคลอง

แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล






อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี

ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองทะเล ตำบลไสไทย ตำบลอ่าวนาง และตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ 242,437 ไร่ เป็นพื้นน้ำประมาณ 200,849 ไร่ มีป่าไม้ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบชื้น พบเห็นได้บริเวณเขาสูงชันบริเวณเขาหางนาค เขาอ่าวนาง ป่าชายเลน จะพบบริเวณคลองแห้ง ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ คลองย่านสะบ้า และด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณสุสานหอย 40 ล้านปี และป่าพรุ ที่พบต้นเสม็ดขึ้นอยู่อย่างสมบูรณ์ มีสัตว์ต่าง ๆ ที่พบในอุทยานฯ ได้แก่ นกโจรสลัด เหยี่ยวแดง นกออก นกนางแอ่นกินรัง หมูป่า ลิง และค่าง สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวคือเดือนพฤษภาคม - เดือนเมษายนอุทยานฯ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ
หาดนพรัตน์ธารา อยู่ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร ชายหาดมีความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านเรียกว่า “หาดคลองแห้ง” ทั้งนี้เพราะเมื่อน้ำลง น้ำคลองที่ไหลมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอดกลายเป็นหาดทรายยาวเหยียดทอดลงไปในทะเล บรรจบกับเกาะเขาปากคลอง บริเวณหาดเป็นทรายละเอียดปะปนด้วยเปลือกหอยเล็ก ๆ ประดับด้วยทิวสนเรียงรายตามชายทะเลยาวเหยียด เมื่อน้ำลงจนแห้งสามารถเดินไปยังเกาะเล็ก ๆ บริเวณหน้าชายหาดได้ นอกจากนั้นบริเวณชายหาดมีที่พักของอุทยานฯ บริการแก่นักท่องเที่ยว โทร. 0 7563 7200 จากที่ทำการอุทยานฯ เดินเท้าไปตามชายหาดด้านทิศตะวันตก มีบังกะโลหลายแห่งให้บริการนักท่องเที่ยว ชายหาดบริเวณนี้ค่อนข้างเงียบสงบ เป็นสถานที่ที่ชาวกระบี่นิยมไปเที่ยวพักผ่อนในวันสุดสัปดาห์ ยังไม่มีถนนตัดเลียบชายหาด
สุสานหอย อยู่บริเวณชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหาดนพรัตน์ธารา เมื่อถึงบ้านไสไทย จะมีป้ายบอกทางไปสุสานหอย บริเวณที่เป็นสุสานหอยแห่งนี้ เดิมเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ มีหอยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหอยขม มีขนาดราว 2 เซนติเมตร ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณพื้นผิวโลก น้ำทะเลไหลเข้ามาท่วมบริเวณหนองน้ำจนหมด ทำให้ธาตุหินปูนในน้ำทะเลหล่อเปลือกหอยใต้น้ำจนเป็นเนื้อเดียวกัน กลายเป็นแผ่นหินแข็งที่เรียกว่า Shelly Limestone หนาประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อแผ่นดินบริเวณนี้ถูกยกตัวขึ้นสูง ซากฟอสซิลเหล่านี้จึงปรากฏให้เห็นเป็นลานหินกว้างใหญ่ยื่นลงไปในทะเล จากการคำนวณหาอายุทางธรณีวิทยาพบว่า ฟอสซิลนี้มีอายุราว 40 ล้านปี
อ่าวนาง อยู่ห่างจากหาดนพรัตน์ธารา ตามถนนเลียบชายทะเลระยะทาง 6 กิโลเมตร เป็นชายหาดยาว มีที่พักร้านค้า บริษัทนำเที่ยว บริการหลายแห่ง ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตาด้วยภูเขาหินปูนตระหง่าน จากอ่าวนางสามารถเช่าเรือไปเที่ยวชายหาดด้านทิศตะวันออกได้แก่ หาดไร่เล ซึ่งเป็นหาดทรายสีขาวละเอียด และ หาดถ้ำพระนาง ซึ่งมีถ้ำหินงอกหินย้อยและกิจกรรมปีนหน้าผาที่น่าตื่นเต้น ท้องทะเลในบริเวณอ่าวนางมีเกาะใหญ่น้อยกว่า 83 เกาะ บางเกาะมีรูปร่างประหลาดคล้ายรองเท้าบู๊ท เรือสำเภา หัวนก เกาะที่มีหาดทรายสวยงามและคนนิยมไปเที่ยวเล่นน้ำชมปะการังได้แก่ เกาะปอดะ เกาะหม้อ และเกาะทัพสำหรับค่าโดยสารเรือจากอ่าวนางไปยังหาดและเกาะต่าง ๆ เช่น อ่าวนาง-ไร่เล ใช้เวลา 10 นาที ค่าโดยสารคนละ 50 บาท อ่าวนาง-ถ้ำพระนาง ใช้เวลา 15 นาที ค่าโดยสารคนละ 50 บาท อ่าวนาง-เกาะปอดะ ใช้เวลา 25 นาที ไป-กลับ ค่าโดยสารคนละ 200 บาท อ่าวนาง-เกาะไก่ ไป-กลับ ใช้เวลา 25 นาที ค่าโดยสารคนละ 250 บาท อ่าวนาง-หมู่เกาะห้อง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ราคาค่าเรือลำละ 1,500 บาท สำหรับเวลากลางคืน อ่าวนาง-ไร่เล ค่าโดยสารคนละ 80 บาท สามารถเช่าเรือได้ตั้งแต่เวลา 07.00–19.00 น.การเดินทางไปอ่าวนางจากตัวเมืองกระบี่ นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารรถสองแถว ค่าโดยสาร 20 บาท ใช้เวลาประมาณ 45 นาที หรือหากต้องการเดินทางจากตัวเมืองกระบี่ไปยังหาดไร่เลโดยตรง สามารถโดยสารเรือได้ที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ใช้เวลา 45 นาที ค่าโดยสารคนละ 70 บาท

*** หมายเหตุ: ราคาค่าโดยสารอาจมีการเปลี่ยนแปลง
หมู่เกาะปอดะ อยู่ทางทิศใต้ของอ่าวนาง ห่างจากฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส บริเวณชายฝั่งของเกาะจะมองเห็นแนวปะการังหลากชนิดที่ยังสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งดึงดูดของนักท่องเที่ยวให้เที่ยวชมได้เกือบตลอดปี และเป็นจุดที่ตกปลาได้ดีเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากลมมรสุมมากนัก สามารถเช่าเรือได้จากบริเวณอ่าวนาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 นาที ใกล้ ๆ กับเกาะปอดะเป็นที่ตั้งของเกาะทัพ เกาะหม้อ เกาะหัวขวาน เกาะไก่ ซึ่งมีสันทรายเชื่อมต่อกันสวยงามมองเห็นได้เวลาที่น้ำลง
หมู่เกาะพีพี เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า “ปูเลาปิอาปิ” คำว่า “ปูเลา” แปลว่าเกาะ คำว่า “ปิอาปิ” แปลว่าต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง ต่อมาเรียกว่า “ต้นปีปี” ซึ่งภายหลังกลายเสียงเป็น “พีพี” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทรนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหมู่เกาะนี้ส่วนใหญ่มาเพื่อดำน้ำดูปะการังดอกไม้ทะเล และปลาหลากสีสันที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ กระบี่-ภูเก็ต-หมู่เกาะพีพี ประกอบด้วยเกาะ 6 เกาะ คือ เกาะพีพีเล เกาะพีพีดอน เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะบิดะนอก และเกาะบิดะใน ซึ่งแต่ละเกาะมีหาดทรายสวย น้ำทะเลใส
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของหมู่เกาะพีพี เกาะพีพีดอน มีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร จุดเด่นของเกาะคือเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงามติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทรและอ่าวโละดาลัม อ่าวต้นไทรเป็นที่ตั้งของท่าเรือเกาะพีพี และมีสถานที่พักและร้านค้าจำนวนมาก จากอ่าวต้นไทรสามารถเดินขึ้นเขาไปยังจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเวิ้งอ่าวคู่ได้ เกาะพีพีดอนยังมีหาดทรายและอ่าวที่สวยงามกระจายอยู่รอบเกาะ บางแห่งมีที่พักบริการ เช่น หาดแหลมหิน หาดยาว อ่าวโละบาเทา ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเลประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ ในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงมีธรรมชาติใต้ทะเลที่สวยงามและบนหาดมีที่พักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือเที่ยวหรือดำน้ำดูปะการังรอบเกาะพีพีดอนและเกาะพีพีเลได้ ราคาประมาณ 1,500 บาทต่อลำต่อวัน
เกาะพีพีเล มีพื้นที่เพียง 6.6 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยภูเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับผิวทะเลโดยรอบเกือบทั้งเกาะ มีพื้นน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร มีบริเวณน้ำลึกที่สุดประมาณ 34 เมตรอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงาม อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา อ่าวโละซามะ นอกจากนี้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมีถ้ำไวกิ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “ถ้ำพญานาค” ตามรูปร่างหินก้อนหนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านที่มาเก็บรังนกนางแอ่นบนเกาะแห่งนี้ ภายในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้างและรูปเรือชนิดต่างๆ เช่น เรือใบยุโรป เรือใบอาหรับ เรือสำเภา เรือกำปั่น เรือใบใช้กังหัน และเรือกลไฟ เป็นต้น สันนิษฐานว่าภาพเขียนเหล่านี้เป็นฝีมือของนักเดินเรือหรือพวกโจรสลัด เพราะจากการศึกษาเส้นทางเดินเรือจากฝั่งตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออก บริเวณนี้อาจเป็นจุดที่เรือสามารถแวะพักหลบลมมรสุมขนถ่ายสินค้าหรือซ่อมแซมเรือได้เกาะยูง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน มีชายหาดเป็นหาดหินอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และมีหาดทรายเล็กน้อยตามหลืบเขา นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังสวยงามชนิดต่าง ๆเกาะไม้ไผ่ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน ไม่ไกลจากเกาะยูงเท่าใดนัก ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกมีหาดทรายสวยงาม และแนวปะการังซึ่งส่วนมากเป็นแนวปะการังเขากวางทอดยาวไปถึงทางทิศใต้ของเกาะ บนเกาะมีสถานที่กางเต็นท์ สอบถามข้อมูลจากอุทยานฯ
การเดินทางไปหมู่เกาะพีพีนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังหมู่เกาะพีพีได้ทั้งจากกระบี่และภูเก็ต จากท่าเรือเจ้าฟ้าในตัวเมืองกระบี่ มีเรือโดยสารออกจากกระบี่ไปเกาะพีพี วันละ 2 เที่ยว เวลา 10.00 น. และ 14.30 น. และจากเกาะพีพีกลับกระบี่ เรือออกเวลา 09.00 น. และ 13.00 น. ค่าโดยสารคนละ 150 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณสอง ชั่วโมงครึ่ง และมีเรือเร็วนำเที่ยวเช้าไปเย็นกลับ ออกจากอ่าวนาง เวลา 09.00 น. และกลับเวลา 17.00 น. ติดต่อโทร. 0 7563 7152-3 สำหรับบริษัท อันดามัน เวฟ มาสเตอร์ จะมีเรือโดยสารออกจากท่าเรือเจ้าฟ้า เรือออกเวลา 10.00 น. และ 14.00 น. ค่าโดยสารคนละ 200 บาท สนใจสอบถามได้ที่ บริษัท เอ ดี วี จำกัด ถนนข้าวสาร โทร. 0 2281 1463-5 หรือ บริษัท อันดามัน เวฟ มาสเตอร์ จำกัด โทร. 0 7563 0471 ส่วนการเดินทางจากภูเก็ตมีเรือนำเที่ยวเกาะพีพีแบบเช้าไปเย็นกลับ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อได้ที่บริษัททัวร์ทั่วไปในตัวเมืองภูเก็ตนอกจากนี้บริเวณอ่าวต้นไทรบนเกาะพีพีดอน มีเรือหางยาวให้เช่าไปเที่ยวตามชายหาดต่าง ๆ รวมถึงเกาะพีพีเลด้วย บริษัท พีพี แฟมิลี่ จำกัด โทร. 0 7561 2463
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พ.พ.4 (ทับแขก) เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานฯ ใช้เส้นทางตามทางหลวง 4200 จนถึงสี่แยกคลองจิหลาด เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 4034 ตรงไปถึงสามแยกบ้านหนองทะเล เลี้ยวซ้ายตรงไปบ้านคลองม่วง และเลี้ยวขวาอีกครั้งตรงไปที่ทำการหน่วยพิทักษ์ฯ ระยะทาง 38 กิโลเมตร พื้นที่เป็นภูเขาที่สมบูรณ์ด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า มีจุดชมวิวที่สวยงามคือหงอนนาค ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของทะเลกระบี่ได้อย่างสวยงาม หน่วยพิทักษ์ฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 3.7 กิโลเมตร ต้องมีคนนำทาง

ดอกไม้ไทย





กรรณิการ์

เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวออกเป็นคู่ เรียงตรงข้าม ใบทรงรูปไข่ ขอบใบเรียบหรือมีจักเล็กน้อยดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวมีโคนกลีบติดกัน มีลักษณะเป็นหลอดสีส้ม กลีบดอกแคบ ปลายกลีบสีขาวและไม่เสมอกัน จะมีกลิ่นหอมตอนกลางคืน และดอกจะร่วงหมดในตอนเช้า ผลมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ภายในมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด
ขยายพันธุ์โดยการตอนหรือปักชำ




กระดังงาสงขลา


เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวยาว กลีบรองดอกมีสามกลีบ สีเขียว มีขนาดสั้น กลีบใบเรียวสองชั้น ชั้นนอกมี 5 กลีบ ชั้นในมี 15 กลีบ ปลายกลีบเรียวแหลมโคนกลีบด้านในมีแต้มสีน้ำตาล ที่ฐานกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่กระดังงา ออกดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมอบอวลขยายพันธุ์ด้วยการตอน







กระดุมทอง


เป็นไม้ล้มลุกพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ลำต้นมีขนทึบใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม สัณฐานใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรีกว้าง ใบกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ขอบเรียบหรือหยักซี่ฟัน ผิวใบมีขนสากทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบสั้นมีครีบ มีขนตามก้านใบและขอบครีบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกออกดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นคู่ ตามง่ามใบใกล้ยอดดอกโตประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1-8 เซนติเมตร โคนช่อมีใบประดับมีขนเรียงกันถี่ โคนใบประกอบชั้นนอกใหญ่ขึ้นเมื่อดอกร่วงไป ดอกวงนอกเป็นดอกตัวเมีย มีประมาณ 10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองรูปรี กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร รังไข่เล็ก ดอกวงในเหมือนดอกตัวเมีย แต่รังไข่ไม่สมบูรณ์ ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กมากและเป็นหมัน อยู่กลางกระจุกดอก ผลมีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดแบน เมล็ดเล็กสีดำเป็นมัน ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด






กาหลง


เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร ใบเป็นแบบใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายเว้าลึกคล้ายใบแฝดดอกขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและกิ่งข้าง ดอกกาหลงมีกลีบ 5 กลีบ เกสร 10 อัน ขนาดต่าง ๆ กัน มีกลิ่นหอมรวยริน ฝักแบนมีเมล็ดประมาณ 5-10 เมล็ดขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการตอน กาหลงออกดอกได้ตลอดปี






กุหลาบ


เป็นไม้พุ่มตั้งหรือเลื้อย ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วย 3 ใบ หรือ 5 ใบ ขอบใบจัก หูใบติดกับก้านใบหรือเป็นอิสระดอกออกที่ปลายกิ่ง มีทั้งดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ กลีบรองดอกเป็นรูปถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกปกติมี 5 กลีบ เกสรตัวเมียอยู่กลางดอกเป็นผลกลม ภายในมีเมล็ดแข็งจำนวนมาก เกสรตัวผู้มีอยู่เป็นจำนวนมาก กุหลาบมีหลายชนิด หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ดอกมีกลิ่นหอมเย็นการขยายพันธุ์มีหลายแบบ เช่น เพาะเมล็ด ตอน ติดตา และปักชำ

อุทยานเเห่งชาติภูกระดึง





อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

ข้อมูลทั่วไป

สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ก่อนที่ท่านและคณะจะเดินทางขึ้นเขาขอให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตามลำดับ ดังนี้
1. ติดต่อขอเช่าเต็นท์กับเจ้าหน้าที่บ้านพัก และสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับอนุญษตให้ใช้บ้านพักหรือเต็นท์จากกรมอุทยานแห่งชาติมาแล้วกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่งานบ้านพัก ณ อาคารติดต่อที่พัก ซุ้มหมายเลข 1 ทราบ
2. สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง ติดต่อชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30 /คน/คืน ณ อาคารติดต่อที่พัก ซุ้มหมายเลข 2 และในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงเต็มท่านจะต้องชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตราข้างต้นเช่นเดียวกัน และท่านสามารถติดต่อเช่าเต็นท์ได้บนยอดเขา
3. สำหรับนักท่องเที่ยวท่านใดหรือคณะใด นำบรรจุภัณฑ์ต่างมา เช่นขวดแก้ว, ขวดพลาสติก, ซองพลาสติก,กล่องกระดาษ หรือ ที่ย่อยสลายเองตามธรรมชาติไม่ได้หรือต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนาน ท่านจะต้องติดต่อมัดจำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงกำหนดไว้ แล้ววันลงเขาให้ท่านนำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวที่เป็นขยะมารับเงินมัดจำนั้นคืน พร้อมทั้งทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจะออกใบประกาศเกียรติคุณให้ท่านเพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้ที่เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่ออุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซุ้มหมายเลข 3
4. ติดต่อจ้างหาบสัมภาระได้ที่อาคารสัมภาระในอัตราราคากิโลกรัมละ 10 บาท ซุ้มหมายเลข 4
5. ชำระค่าธรรมเนียมเดินขึ้นเขาได้ที่ซุ้มจำหน่ายบัตรค่าธรรมเนียม ในอัตราเด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท ในกรณีที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา เมื่อยืนประจำตัวทางอุทยานแห่งชาติ จะเก็บค่าธรรมเนียมขึ้นเขาในอัตรา 10 บาท ผู้สูงอายุตั้งแต่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจะต้องแสดงบัตรประจำตัวของท่านเพื่อไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมขึ้นเขา ซุ้มหมายเลข 5ลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปีในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี พืชพรรณและสัตว์ป่า สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น
ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก
ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด
ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น
ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ






ผานกแอ่น อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวางประมาณ 2 กิโลเมตร และห่างจากหลังแป 2.5 กิโลเมตร ผานกแอ่นเป็นลานหินเล็กๆ มีสนขึ้นโดดเด่นริมหน้าผาต้นหนึ่ง เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามยิ่ง อากาศสดชื่นเย็นสบาย มองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างซึ่งเป็นท้องทุ่งและเทือกเขา เห็นผานกเค้าได้ชัดเจน ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นเป็นสวนหินมีดอกกุหลาบป่าขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ จะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือนมีนาคม-เมษายน ผู้ที่ไปชมประอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น ควรเตรียมไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางไปด้วย
ผาหล่มสัก อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นลานหินกว้างและมีสนต้นหนึ่งขึ้นชิดริมผาใกล้กับชะง่อนหินที่ยื่นออกไปในอากาศทางทิศใต้ บริเวณผาหล่มสักนี้มองเห็นทิวทัศน์ของเทือกเขาสลับซับซ้อนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นจุดหนึ่งที่จะชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างชัดเจนและงดงามมาก ผู้ที่ไปชมประอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางเวลาเดินกลับที่พัก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
สระแก้ว อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 1 กิโลเมตร อยู่ในส่วนต้นน้ำของลำธารสวรรค์ “ธารสวรรค์” ลักษณะเป็นวังน้ำลึกขนาดไม่กว้างนัก น้ำใสมากจนมองเห็นพื้นหินขาวสะอาด เป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่าจำนวนมาก ต่อจากบริเวณสระแก้วมีทางเดินชมธรรมชาติผ่านลานหิน ซึ่งมีดอกหรีดสีม่วงอมน้ำเงินเกสรสีเหลือง ขึ้นอยู่เป็นทุ่งไปจนถึงผานาน้อย แยกซ้ายไปจะพบกับผาจำศีล ซึ่งมีลานหินกว้างพอให้นั่งพักผ่อน จากผาจำศีลประมาณ 600 เมตร จะถึงผาหมากดูก หากแยกขวาจะผ่านผาเหยียบเมฆและผาแดง แล้วก็จะถึงผาหล่มสัก
สระอโนดาด อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.7 กิโลเมตร เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่นักที่มีต้นสนขึ้นเป็นแนวแน่นขนัด ใกล้กันยังมีลานกินรีซึ่งเป็นสวนหินธรรมชาติที่อุดมไปด้วยพรรณไม้ทั้งพวกกินแมลงอย่างดุสิตา หยาดน้ำค้าง หรือเฟิน เช่น กระปรอกสิงห์ บนหินยังมีไลเคนขึ้นอยู่เต็มไปหมด
น้ำตกเพ็ญพบใหม่ เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว ใบเมเปิ้ลที่อยู่บริเวณริมน้ำตกจะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำยามแดดสาดส่องผ่านลงมาจะเป็นสีแดงจัดตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกโผนพบ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ
น้ำตกตาดฮ้อง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 3 ชั้น เกิดจากลำน้ำพอง ซึ่งไหลลงมาจากภูกระดึงด้านหุบเขาตะวันตกเฉียงเหนือ สองฝั่งของตาดฮ้องเป็นผาหินสูงชันมาก เมื่อน้ำตกผ่านผาหินกว้างที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ จึงทำให้เกิดเสียงดังกึกก้อง จากบริเวณน้ำตกมองเห็นแนวภูเขาเปลือยขวางอยู่ข้างหน้าน้ำตกตาดร้องอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 20 กิโลเมตร
น้ำตกวังกวาง เป็นน้ำตกอยู่ใกล้กับที่พักมากที่สุดในบรรดาน้ำตกบนภูกระดึง ระยะทางเพียง 750 เมตร จากจุดเริ่มต้นตรงบริเวณบ้านพัก ลักษณะน้ำตกเป็นผาหินสูง 7 เมตร ตัดขวางลำธาร ธารน้ำไหลลงยังวังน้ำเบื้องล่าง ซึ่งมีลักษณะคล้ายโพลงถ้ำมุดลงไปและบริเวณป่าใกล้ๆ ก็เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงกวางมักจะลงมากินน้ำอยู่เสมอๆ จึงเรียกว่า “วังกวาง” บริเวณน้ำตกมีที่กว้างขวางให้ได้นั่งพักสบายๆ หลายมุม เพราะน้ำตกอยู่ไม่ไกล สามารถลงเล่นน้ำได้
น้ำตกถ้ำใหญ่ ห่างจากน้ำตกเพ็ญพบประมาณ 1 กิโลเมตร เส้นทางเดินไปสู่น้ำตกจะดูใกล้นิดเดียวสำหรับคนชอบธรรมชาติ ชมนกชมไม้ เพราะตลอดเส้นทางครอบคลุมไปด้วยป่าดิบเขาที่มีพรรณไม้ใหญ่และร่มครึ้มกว่าทุกเส้นทางน้ำตกอื่นๆ อาจได้พบต้นส้มกุ้ง (Begonia sp.) ออกดอกเป็นสีชมพู เกสรกลางสีเหลือง ชอบขึ้นตามทางในพื้นที่สูงอย่างป่าดงดิบเขา ในเส้นทางถ้ำใหญ่นี้มีทางเดินบางช่วงที่เลียบข้างลำห้วยเล็กๆ มีต้นเมเปิ้ลอยู่เป็นระยะๆ หากช่วงต้นมกราคม เส้นทางนี้จะแดงฉานด้วยใบเมเปิ้ลที่ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นป่า ความสวยงามของน้ำตกถ้ำใหญ่จะแปลกตาด้วยโขดหินมหึมาวางทับซ้อนไม่เป็นระเบียบ ลำธารนี้ขนาบข้างด้วยต้นเมเปิ้ล ยามเมเปิ้ลแดงล่วงหล่น ขัดสีให้ลำธารหินเขียวสวยงามมีสีสันและมีชีวิตชีวาขึ้นมามากนัก
น้ำตกธารสวรรค์ จากน้ำตกถ้ำใหญ่เมื่อออกสู่ป่าสนไม่ไกลนักจะมีทางแยกบนลานหินสู่น้ำตกธารสวรรค์ซึ่งอยู่ห่างจากที่พักตามเส้นทางป่าสนผ่านลานองค์พระพุทธเมตตาเพียง 1.6 กม. เท่านั้น เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
น้ำตกโผนพบ เป็นหนึ่งในน้ำตกหลายจุดอันเกิดจากสายน้ำวังกวาง ห่างจากตัวน้ำตกเพ็ญพบใหม่เพียง 600 เมตรเท่านั้น ในส่วนของลำธารส่วนบนของน้ำตกโผนพบนี้ สามารถไปยืนชมตัวน้ำตกกลางลำธารซึ่งจะได้ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม น้ำตกมี 8 ชั้น สูงประมาณ 30 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงามไม่น้อยบนภูเขานี้ สำหรับชื่อ “โผนพบ” ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยน โลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ
น้ำตกพระองค์ คล้ายกับน้ำตกถ้ำใหญ่ แต่เป็นน้ำตกขนาดเล็กกว่า เกิดจากลำธารพระองค์ไหลเป็นลำธารเล็กๆ แล้วดิ่งตกลงหน้าผาที่ไม่สูงมากนักสู่หินเบื้องล่าง ลำธารพระองค์นี้เป็นลำห้วยเล็กๆ ที่ไหลจากสระอโนดาต สระน้ำกลางป่าสนซึ่งไม่เคยเหือดแห้ง จึงมีน้ำไหลตลอดปี อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4 กิโลเมตร
น้ำตกถ้ำสอเหนือ อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4.8 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร น้ำไหลมาจากผาเป็นม่านน้ำตก บริเวณเหนือน้ำตกมีดงกุหลาบแดงซึ่งในช่วงฤดูร้อนจะผลิดอกสร้างสีสรรค์ให้กับบริเวณนี้สวยงามยิ่งขึ้น
น้ำตกถ้ำสอใต้ อยู่ถัดจากน้ำตกถ้ำสอเหนือลงไปตามลำน้ำประมาณ 500 เมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากหน้าผาหินถล่มลงไป สภาพภูมิประเทศไม่ได้อำนวยให้เกิดเป็นชั้นน้ำตกเหมือนแห่งอื่นๆ
ผาหมากดูก อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.5 กิโลเมตร เป็นผาที่มีลานหินกว้างขวาง เป็นผาสำหรับชมพระอาทิตย์ตกที่ใกล้ที่พักมากที่สุด สามารถชมทิวทัศน์ภูผาจิตในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในช่วงต้นฤดูฝนจะมีดอกกระเจียวขึ้นเต็มทุ่งตามเส้นทางสู่ผาหมากดูก
น้ำตกเพ็ญพบ อยู่ห่างจากน้ำตกโผนพบ 800 เมตร เป็นน้ำตกที่ไม่สูงนัก ลำห้วยช่วงก่อนไหลลงน้ำตกเป็นลานหินกว้าง ลักษณะคล้ายแก่งที่เต็มไปด้วยหลุมกลม
ลานหินบริเวณองค์พระพุทธเมตตา อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 500 เมตร ลานหินบริเวณองค์พระนี้เป็นจุดชมพันธุ์ไม้บนลานหิน เช่น ดุสิตา กระดุมเงิน เอื้องม้าวิ่ง ที่อยู่ใกล้ที่สุด
วังอีเมือง อยู่ห่างจากน้ำตกตาดฮ้องลงมาประมาณ 3.2 กิโลเมตร บริเวณนี้มีแก่งที่สวยงามหลายแห่ง เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อนและลงเล่นน้ำ
แก่งป่าหินทราย อยู่ห่างจากน้ำตกตาดฮ้องลงมาประมาณ 5.6 กิโลเมตร เป็นแก่งหินที่สวยงาม มีความยาวประมาณ 750 เมตร ด้านบนมีจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของแก่งได้อย่างสวยงาม บริเวณแก่งหินจะมีหลุมเป็นอ่างหินที่เกิดจากการกัดกร่อนของแรงน้ำมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เป็นจุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่ง
น้ำตกตาดห้วยวัว อยู่ห่างจากน้ำตกตาดฮ้องลงมาประมาณ 6.5 กิโลเมตร และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภด.3 (นาน้อย) ประมาณ 4 กิโลเมตร ด้านบนมีแก่งหินเล็กๆ
ลานวัดพระแก้ว หลังจากชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่นแล้ว สามารถเดินไปลานวัดพระแก้วซึ่งอยู่ห่างไปเพียง 500 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2463 บริเวณลานหินที่กว้างขวางมีพรรณไม้ดอกพวกดุสิตา เอื้องม้าวิ่ง ขึ้นอยู่ทั่วไป ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพากันออกดอกอยู่เกลื่อนลานสถานที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติภูกระดึงหมู่ 1 ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย 42180โทรศัพท์ 0 4287 1333 อีเมล reserve@dnp.go.th







สถานที่กางเต็นท์ เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 150-300บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น รายการที่ 1 - เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 150 บาท/คืน- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 225 บาท/คืน- เต็นท์ ขนาด 4 คน ราคา 300 บาท/คืนหมายเหตุ:ราคาไม่รวม ชุดเครื่องนอนสำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง (หรือในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานเต็มและต้องไปเช่าเต็นท์บนยอดเขา)- ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30/คน/คืน- เด็กที่มีอายุตั้งแต่ - 12 ปี จะไม่ได้ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่าเครื่องนอนทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีไว้บริการดังนี้ - ถุงนอน อัตราการเช่า 30 บาท/คืน/ถุง- ที่รองนอน อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/อัน- หมอน อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ใบ- ผ้าห่ม อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน- ผ้าห่มอย่างหนา อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/ผืน- เสื่อ อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.